Call Center: (02)538-2229สำนักงาน: (02)538-7900Fax: (02)538-5508
E-mail: bangkokdrugstore@yahoo.com facebook
โรคนี้มีชื่อโรคว่า Necrotizing Fasciitis ซึ่งสามารถเกิดได้จากเชื้อหลายตัว แต่เชื้อที่พบว่าเป็นปัญหาหลักที่เกิดที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2024 คือเชื้อในกลุ่ม GAS หรือ Streptococci กลุ่ม A
ปกติเราจะพบเชื้อตัวนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคออันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาการเจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรียมีอัตราส่วนการเกิดค่อนข้างต่ำ คือมีอัตราการเกิดเพียง 20% จากสาเหตุของอาการเจ็บคอทั้งหมด และการที่อาการจะลามไปถึงขึ้นเป็นโรคเนื้อตายหรือ Necrotizing Fasciitis ได้ก็ยิ่งเกิดน้อยมากขึ้นไปอีก ซึ่งรายที่เกิดส่วนใหญ่มักจะมีบาดแผลอยู่แล้ว พอมีการติดเชื้อชนิดนี้เข้าไป อาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อบริเวณบาดแผล หรือผิวหนังชั้นลึก ซึ่งอาจจะรุนแรงถึงขึ้นเกิดเนื้อตายได้ หรืออีกสาเหตุหนึ่งก็คือการที่เรามีบาดแผลเปิดและดูแลความสะอาดได้ไม่ดี หรือบาดแผลไปสัมผัสถูกสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองไอจามของคนที่เป็นคออักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอยู่ พอมาโดนแผลก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเนื้อตายได้ โดยอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้อยู่ที่ประมาณ 16-33% หรือบางการศึกษาพบว่ามากกว่านั้น ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง แต่กว่าจะถึงขั้นนั้นก็เกิดขึ้นได้น้อยมาก
อาการแบ่งได้เป็น 2 กรณี
3. โรคนี้มีวิธีการรักษา หรือป้องกันไหม
การรักษาโรคนี้สามารถทำได้โดยการไปสถานพยาบาลเพื่อทำความสะอาดแผล หรือทำหัตถการตัดแต่งเนื้อเยื่อที่ตายหรือได้รับความเสียหายออก ร่วมกับรับยาฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุ เป็นต้น โดยหากได้รับการรักษาเร็ว โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งสูง ดังนั้นหากเริ่มมีอาการแสดง เช่น มีไข้สูง เจ็บคอ มีแผลตุ่มน้ำพุพอง หรือเป็นหนองโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบแพทย์ทันที
ส่วนการป้องกันโรคนี้ก็ทำได้ง่าย ๆ คือการสวมใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ และหากมีแผลก็ควรดูแลแผลและรักษาความสะอาดให้ดี หากไปนอกที่พักควรปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ
บทความโดย ภก.กฤตภาส บุญยเมธานันท์
Reference
<a href="https://www.freepik.com/free-photo/doctor-taking-care-afro-american-child_133620812.htm#fromView=search&page=4&position=43&uuid=f5439434-7b72-492e-867a-abad6e983322">Image by freepik</a>
บริษัท กรุงเทพดรักสโตร์ จำกัด
2585/2 ถนนลาดพร้าว(ใกล้ปากซอยลาดพร้าว 87)แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทร: (02)538-7900 แฟกซ์: (02)538-5508
E-mail: bangkokdrugstore@yahoo.com
[คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่]