Call Center: (02)538-2229
 สำนักงาน: (02)538-7900
 Fax: (02)538-5508
 E-mail: bangkokdrugstore@yahoo.com

โรคลมชัก


ผู้เขียน : krittapat.bวันที่ : 04/10/2024หมวด : โรค

โรคลมชัก

โรคลมชัก (Seizures) เกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นอาการทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นทันที ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความรู้สึก พฤติกรรม หรือการรับรู้ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจรู้หรือไม่รู้ตัวขณะเกิดอาการลมชัก ซึ่งอาการอาจจะรุนแรงและแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าส่วนใดของสมองที่ได้รับผลกระทบ

ประเภทของอาการชัก 

ลมชักจะจำแนกตามพื้นที่ที่เกิดขึ้นของกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ และกระบวนการเริ่มต้นของการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมอง อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดความผิดปกติ โดยสามารถแบ่งได้ออกเป็นสองประเภท ได้แก่ 

1. อาการชักเฉพาะที่ 

2. อาการลมชักที่มีผลต่อทุกส่วนของสมอง หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่าลมบ้าหมู 

อาการลมชักเฉพาะที่ (Focal seizures)

อาการชักประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อบริเวณใดบริเวณหนึ่งของสมอง ผู้ที่มีอาการชักเฉพาะที่อาจหมดสติหรือไม่ก็ได้

ผู้ที่มีอาการลมชักลักษณะนี้จะไม่ตอบสนองตามปกติ คนไข้อาจเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ เช่นเดินเป็นวงกลม ใช้มือถูไปมา เคี้ยวหรือกลืนซ้ำ

อาการลมชักแบบเฉพาะที่ลักษณะนี้ไม่ทำให้หมดสติ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการชักแบบนี้อาจพบ การเปลี่ยนแปลงของการรับรู้ เช่น กลิ่น รูปลักษณ์ รส ความรู้สึก และเสียง ประกอบกับมีการกระตุกของร่างกายเช่น แขนและขา อาการเหน็บชา เวียนหัว เห็นแสงวาบ เป็นต้น

อาการลมชักที่มีผลต่อทุกส่วนของสมอง หรือลมบ้าหมู

อาการชักประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าทำงานผิดปกติและส่งผลกระทบต่อทุกพื้นที่ของสมอง อาการลมชักประเภทนี้สามารถแบ่งได้หลายชนิด ได้แก่

อาการลมชักชนิดเหม่อมักพบในเด็ก อาจทำให้เกิดการสูญเสียการรับรู้ และการเคลื่อนไหวของร่างกายบางอย่าง เช่น การขยับริมฝีปาก หรือกระพริบตา ทำให้ดูคล้ายๆเหม่อบ่อยๆ

โดยปกติจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง กระตุก มักเกิดบริเวณ หลัง แขน และขา ซึ่งอาจทำให้ล้มได้

อาการชักชนิดนี้ อาจทำให้สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อและนำไปสู่การหมดสติ และล้มลงอย่างกะทันหัน

อาการชักชนิดนี้มักทำให้เกิดการกระตุกซ้ำ ๆ และเคลื่อนไหวเป็นจังหวะโดยเฉพาะที่คอ ใบหน้า และแขน

ผู้ที่มีอาการชักสะดุ้งมักจะมีอาการกระตุกของแขนและขาอย่างกะทันหัน

อาการชักนี้อาจทำให้ผู้คนไข้มีปัญหามากที่สุดโดยอาจสูญเสียสติ ร่างกายเกิดอาการแข็ง และสั่น กัดลิ้น หรือสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของโรคลมชัก

โรคลมชักมีหลายสาเหตุ  สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

 

การรักษาโรคลมชัก

แพทย์อาจตัดสินใจเริ่มการรักษากับผู้ที่มีอาการชักหลายครั้ง โดยการรักษาประกอบด้วย

 

บทความโดย ภก.ธนโชติ กลีบสุวรรณ

 

เอกสารอ้างอิง


บริษัท กรุงเทพดรักสโตร์ จำกัด
2585/2 ถนนลาดพร้าว(ใกล้ปากซอยลาดพร้าว 87)แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทร: (02)538-7900 แฟกซ์: (02)538-5508
E-mail: bangkokdrugstore@yahoo.com

[คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่]